แบบทดสอบ คุณเสี่ยง “โรคหัวใจ-หลอดเลือด” มากแค่ไหน

หลายท่านน่าจะรู้จักหรือคุ้นหูกับกลุ่มโรค NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกันไม่มากก็น้อย จากข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ระบุเอาไว้ว่ากลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases)

แบบทดสอบ คุณเสี่ยง

หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นเป็นชื่อเรียกกลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือ ติดต่อผ่านตัวนำโรค (พาหะ) หรือสารคัดหลั่งต่างๆ แต่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ภายในร่างกายซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากไลฟ์สไตล์วิถีการใช้ชีวิต เช่น บุคคลที่มีพฤติกรรมดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สูบบุหรี่เป็นประจำ บุคคลที่ชื่นชอบการรับประทานอาหารหวานมันเค็มจัด บุคคลที่ขาดการออกกำลังกายก็มักจะเกิดกลุ่มอาการนี้ สำหรับประเทศไทย โรคในกลุ่ม NCDs ที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด 6 โรค ได้แก่

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ (Cardiovascular & Cerebrovascular Diseases)
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
โรคอ้วนลงพุง (Obesity)
โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)
โรคมะเร็ง (Cancer)
Cardiovascular disease คืออะไร
อาจารย์ ดร.กภ.ธวัชชัย ลักเซ้ง แพทย์สาขากายภาพบำบัดระบบประสาท สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระบุว่า Cardio หมายถึง “เกี่ยวกับหัวใจ” vascular หมายถึง “หลอดเลือด” disease หมายถึง “โรค” เมื่อเรานำความหมายมารวมกันทั้งหมด ก็จะหมายความว่าโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วย โรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เช่น โรคหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวายเฉียบพลัน ฯลฯ นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง หรือ โรคอัมพาตครึ่งซีก (หรือ stroke) อีกด้วย

สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดเกิดจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่นการรับประทานที่มากเกินพอดี รับประทานอาหารรสหวานจัด มันจัด เค็มจัด รับประทานผักผลไม้น้อย มีกิจกรรมทางกายลดลง ไม่ออกกําลังกาย เครียด และพักผ่อนไม่เพียงพอ ประกอบกับการสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดภาวะนํ้าหนักเกิน อ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และนําไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในที่สุด

Thai CV Risk Score คืออะไร
Thai CV Risk Score คือการนําปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มาคิดเป็นคะแนนที่สามารถแปลผลเป็นตัวเลขความเสี่ยงสำหรับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตสําหรับคนไทยโดยเฉพาะ โดยในแต่ละประเทศก็จะมีชื่อของ risk score นี้ที่แตกต่างกันออกไป เช่น Framingham Risk Score for Hard Coronary Heart Disease จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

แบบทดสอบ คุณเสี่ยง “โรคหัวใจ-หลอดเลือด”
Tagged on: